โอกาสในสายงานของ “วิศวกรโยธา”

ประสบการณ์ในสายงาน

วิศวกรโยธามีงานรองรับจำนวนมาก เนื่องจากการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้านนั้นกำลังเติบโต ไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจากรัฐบาล การขนส่ง หรือของฝั่งเอกชน เช่นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รูปแบบต่างๆ อย่างไรก็ตาม มี 2 สายงานหลักๆ ที่พร้อมให้วิศวกรโยธาถามตัวเองดูว่าตัวเองชอบแนวไหน การเลือกสายงานที่ถูกต้องนั้นจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะคถณจะได้ทำงานที่ชอบ และเติบโตในสายงานที่ตัวเองรัก

1.  งานออฟฟิส

เหมาะสำหรับวิศวกรโยธาที่ไม่อยากออกไปทำงานกลางแจ้ง ตากแดดร้อนๆ สามารถเลือกงานที่ทำงานในออฟฟิส แอร์เย็นสบาย ซึ่งงานในออฟฟิสรวมถึง งานวิศวกรประเมิณราคา วิศวกรเขียนแบบ วิศวกรออกแบบโครงสร้าง เซ็นแบบ

วิศวกรประเมิณราคา: จะดูแลเรื่องการประเมิณราคาจากแบบที่ได้รับมาจากสถาปนิก หรือแบบโครงสร้าง ซึ่งจะต้องประเมิณราคาในทุกๆ ส่วนว่าจะออกมาเป็นเงินมูลค่าเท่าไหร่ เป็นไปตามงบประมานที่ทางบริษัทมีหรือไม่

วิศวกรออกแบบ: งานจะค่อนข้างเยอะ ต้องมีความรับผิดชอบเป็นอย่างมาก จำเป็นต้องเชี่ยวชาญในการออกแบบโครงสร้าง เช่นโครงสร้างที่รองรับแผ่นดินไหว เป็นต้น และหากรับงานเซ็นแบบด้วย คุณจะต้องเป็นคนที่ละเอียด รอบคอบ

งานด้านการให้คำปรึกษา: คืองานที่วิศวกรโยธาจะไปมีส่วนร่วมกับโปรเจคของลูกค้า ไม่ว่าจะคอยให้คำปรึกษาด้านโครงสร้าง การประเมิณราคา การลงทุน ไปจนถึงตรวจสอบงาน และต้องคอยอัพเดทให้ลูกค้าทราบ เข้าประชุมกับลูกค้าเป็นประจำ

2. งานภาคสนาม

ส่วนใหญ่จะอยู่ตามไซต์ก่อสร้าง ประสานงานกับผู้รับเหมา ซึ่งจะเน้นการบริหารคน บริการงาน ให้การก่อสร้างอยู่ในงบประมาน เสร็จตามเวลา ด้วยคุณภาพที่มีมาตราฐาน งานสายนี้จะเติบโตได้ต้องมีประสบการณ์ในการบริการจัดการ ทั้งด้านคนและงาน ซึ่งแน่นอนว่างานนี้จะต้องลุยกลางแจ้ง ออกตากแดด ต้องคุยกับคนมากมาย มากหน้าหลายตา หากเป็นคนเข้ากับคนง่ายจะได้เปรียบ

อุตสาหกรรมที่น่าสนใจ

วิศวกรโยธาควรจะโฟกัสความเชี่ยวชาญเฉพาะในอุตสาหกรรมนั้นๆ หากจะย้ายงานก็ควรจะเลือกอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกัน เพราะจะทำให้คุณมีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนั้นๆ มากยิ่งขึ้น หรือหากจะย้ายข้ามความเชี่ยวชาญ ก็ต้องลองดูว่ามันจะสามารถมาส่งเสริมกันหรือเปล่า ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการเติบโตในสายงาน

  • พลังงาน: เช่นออกแบบโครงสร้างสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลังงาน เช่นกังหันลมปั่นไฟ โรงไฟฟ้านิวเคลีย
  • สิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ: หลายๆ โครงการก่อสร้างนั้นตั้งอยู่ในสถานที่ที่เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ วิศวกรโยธาที่สนใจงานด้านนี้นั้นต้องมีความรู้เกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่มีโอกาสเกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งโครงสร้างนั้นต้องรองรับ ไม่ว่าะเป็น น้ำท่วม พายุฝน ลมกระโชก
  • ถนน/ทางด่วน: เชี่ยวชาญด้านการตัดถนน สร้างทางยกระดับ ทางด่วน ซึ่งต้องดูแล อำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมเป็นหลัก เช่นใช้ทางง่าย รถไม่ติด (คอขวด) เป็นต้น
  • สิ่งก่อสร้างกลางทะเล: เช่นสร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างใต้ทะเล ท่อลำเลียงน้ำมันและ Natural Gas
  • ตึก/อาคาร: ไม่ว่าจะเป็นตึกออฟฟิศ หรือคอนโด โครงสร้างต้องรองรับสภาพอากาศทุกฤดู คำนึกถึงความปลอดภัยในการใช้งานของผู้อยู่อาศัย
  • ขนส่งทางราง: เช่นรถไฟ รถไฟฟ้า จะเป็นงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศจากทางรัฐบาล จำเป็นต้องดูและเรื่อง Flow ตลอดเส้นทาง เน้นประสิทธิภาพในการขนส่ง

ความสามารถที่จำเป็น

ความสามารถ และความรู้หลักๆ ในสายงานนั้นเป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการต่อและออกแบบวงจร การคำนวนต่างๆ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอีกมากมาย แต่ความสามารถแบบ Soft Skills นั้นจะเป็นตัวที่พาให้คุณประสบความสำเร็จ และเติบโตในสายงานนั้นๆ

  • ความสามารถในการใช้ความรู้ที่มีอยู่บวกกับความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไข้ปัญหา
  • ความสามารถในการทำให้สิ่งๆ นั้นเกิดขึ้นจริง เช่น เปลี่ยนจากไอเดีย เป็นสินค้า เปลี่ยนจากรูปดีไซน์ เป็นสิ่งที่จับต้องได้ และใช้ได้จริง
  • ความสามารถในการสื่อสารที่ชัดเจน ทั้งการเขียนและการพูด รวมถึงการนำเสนองาน
  • ความสามารถในการบริหารเวลา และโปรเจคต่างๆ
  • ทำงานเป็นทีม เป็นได้ทั้งผู้นำ และผู้สนับสนุนที่ดี
  • ทีความคิดสร้างสรรค์
  • ความสามารถในการคิดนอกกรอบ สร้างสรรค์นวตกรรมใหม่ๆ

https://targetjobs.co.uk/career-sectors/civil-and-structural-engineering/advice/401582-want-a-civil-engineering-job-three-career-decisions-you-have

อัพเดทความสามารถ และประสบการณ์

ในแต่ละเดือนมีบริษัทต่างๆ เข้ามาค้นหา “วิศวกรไฟฟ้า” จำนวนไม่น้อย อัพเดทโปรไฟล์ของคุณเพื่อเปิดโอกาสรับข้อเสนอดีๆ

การศึกษาต่อ

ในการศึกษาต่อนั้นสามารถเป็นไปได้ในหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น

  • Internet Engineering
  • Nano Tech.
  • Wireless and Optical Communication
  • Telecommunication
  • และอีกมากมาย

สาขาเหล่านี้จะทำให้คุณเป็นวิศวกรไฟฟ้าที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ อาจมีโอกาสได้ทำไปงานในด้านการให้คำปรึกษา การวางระบบในองค์กรใหญ่ แต่ก่อนจะเลือกเรียนต่อ แนะนำให้ลองทำงานดูก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าสายไหนเหมาะกับตัวเอง เพราะหากเรียนต่อแล้ว ต้องนำสิ่งที่เรียนกลับมาใช้ได้ และต้องสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกันตนเอง หากเรียนไปเพราะไม่รู้จะเรียนอะไรนั้นจะทำให้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย

หากใครไม่ต้องการต่อสายวิศวกรรมแล้ว ก็สามารถเรียนต่อ MBA ได้ ซึ่งจะทำให้คุณได้เปิดโลกเกี่ยวกับด้านธุรกิจ และการบริการ เหมาะกับการที่จะใช้ความรู้ MBA ในการขยับไปสู่ต่ำแหน่งที่สูงขึ้นในองค์กร ที่เน้นด้านการบริหารคน และบริหารงาน

วิศกรไฟฟ้าบางคนอาจไม่อยากทำงานในสายวิศวกรรมแล้ว สามารถเรียนต่อด้านการเงิน การตลาด และอีกมากมาย งานที่รองรับก็มีทั้งงานธนาคาร งานให้คำปรึกษา งานบริหาร วางแผนต่างๆ เช่น Investment Analyst, Fund Manager, Marketing Analyst, Business Development และอีกมากมาย

วิศวกรไฟฟ้าส่วนใหญ่ทำงานอะไรกัน?

เกือบ 20% ของวิศวกรไฟฟ้าที่จบใหม่ทำงานในสายไอที และยังมีบางส่วนทำงานที่เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่นด้านอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาโปรแกรมต่างๆ

ประเภทงาน สัดส่วน (%)
งานด้านวิศวกรรม 41.2%
งานด้าน IT 18.8%
งานเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค 8.1%
งานในธุรกิจค้าปลีก และอาหาร 6.8%
อื่นๆ 25.1%

วิศวกรไฟฟ้ากว่า 75% จบมามีงานทำทันที มีบางส่วนเท่านั้นที่ตัดสินใจเรียนต่อ

สถานะ สัดส่วน (%)
มีงานทำแล้ว 75.7%
ศึกษาต่อ (เต็มเวลา) 9.7%
ทำงานและศึกษาต่อไปด้วย 2.7%
ว่างงาน 8.3%
อื่นๆ 3.6%

ตัวเลขสถิตินั้นอ้างอิงมาจากตลาดงานโดยรวมของประเทศในสหราชอาณาจักร เพื่อให้วิศวกรได้เห็นแนวโน้มของประเทศอื่นๆ