โอกาสในสายงานของ “วิศวกรไฟฟ้า”

ประสบการณ์ในสายงาน

วิศวกรไฟฟ้านั้นเป็นที่ต้องการมากในหลายๆ อุตสาหกรรม งานวิศวกรไฟฟ้าจะค่อนข้างกว้างขวางและหลากหลาย ตั้งแต่ไฟฟ้าตามโรงงาน อาคาร ที่อยู่อาศัย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักกล การสื่อสาร และอีกมากมาย ประเภทงานในด้านนี้ก็จะมีตั้งแต่เรื่องดีไซน์ ออกแบบ พัฒนา ทดสอบ ควบคุมระบบการผลิต ระบบไฟฟ้า ซ่อมบำรุงเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานและตัวขับเคลื่อน ซึ่งลองนึกดูแล้วแทบจะทุกอย่างรอบตัวเราที่ต้องใช้พลังงาน และระบบไฟฟ้า

ดังนั้นวิศวกรไฟฟ้าก็จะเป็นอีกสาขาหนึ่งที่ควรจะเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่นหากทำงานด้านการดูแล ควบคุม ระบบไฟฟา้าโรงงานมาแล้วกว่า 10 ปี การที่จะย้ายไปเริ่มงานใหม่ในสายงานด้านการออกแบบอุปกรณ์ไฟฟ้าก็คงจะทำให้เสียโอกาสในการเติบโตในสายโรงงาน แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้ หากคุณสนใจจริง และพอมีความรู้ในด้านนั้นๆ ก็ยังพอมีโอกาสเหมือนกัน ดังนั้นในช่วงปีแรกๆ ของการทำงาน การทำงานกว้างๆ นั้นยังโอเคอยู่ ควรเรียนรู้สายงานอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย มองภาพธุรกิจโดยรวม อาจจะลองหาข้อมูลจากเพื่อนร่วมงานในแผนกอื่นๆ เพื่อค้นหาว่าตัวเองชอบอะไร หากตัดสินใจอยากเปลี่ยนทิศทางก็จะยังมีโอกาศอยู่ จากนั้นเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นเรื่องๆ ความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ จะตามมาเอง

วิศวกรไฟฟ้าเป็นสาขาที่สามารถทำงานในสิ่งที่จับต้องได้ในชีวิตประจำวัน และใกล้ชิดกับผู้บริโภค เช่นคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้านเรือน เตียงไฟฟ้า เก้าอี้ไฟฟ้า และอีกมากมาย ทำให้วิศวกรไฟฟ้าที่มีไอเดียในการแก้ปัญหา หรือทำให้ชีวิตประจำวันของคนเราง่ายขึ้น มีโอกาสก้าวหน้าในสายงานด้าน New Product Development/Creation หรือออกมาทำ Startup ของตัวเอง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค วิศวกรไฟฟ้าคนไหนชอบงานในลักษณะนี้อาจต้องลองหาประสบการณ์ทำงานในฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินค้าตัวใหม่ๆ  เช่น โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ต่างๆ จะทำให้คุณได้เรียนรู้ขบวนการคิดในการที่จะผลิตสินค้าออกมาให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากที่สุด

อุตสาหกรรมที่น่าสนใจ

เนื่องจากวิศวกรไฟฟ้าเป็นที่ต้องการมากในหลายอุตสาหกรรม จึงมีหลายอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ และมีโอกาสสูงที่วิศวกรจะได้เข้าไปร่วมงาน

  • การบินและอวกาศ
  • ก่อสร้าง โครงการอสังหาริมทรัพย์
  • ยานยนต์
  • การผลิตสินค้าอุปโภค บริโภค
  • IT
  • โทรคมนาคม การสื่อสาร
  • พลังงาน ปิโตรเลียม

แต่ก็ยังมีประเภทธุรกิจอื่นๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจให้คำปรึกษา ธุรกิจทางด้านเทคโนโลยี หรือ Startup ใหญ่ๆ

ความสามารถที่จำเป็น

ความสามารถ และความรู้หลักๆ ในสายงานนั้นเป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการต่อและออกแบบวงจร การคำนวนต่างๆ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอีกมากมาย แต่ความสามารถแบบ Soft Skills นั้นจะเป็นตัวที่พาให้คุณประสบความสำเร็จ และเติบโตในสายงานนั้นๆ

  • ความสามารถในการใช้ความรู้ที่มีอยู่บวกกับความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไข้ปัญหา
  • ความสามารถในการทำให้สิ่งๆ นั้นเกิดขึ้นจริง เช่น เปลี่ยนจากไอเดีย เป็นสินค้า เปลี่ยนจากรูปดีไซน์ เป็นสิ่งที่จับต้องได้ และใช้ได้จริง
  • ความสามารถในการสื่อสารที่ชัดเจน ทั้งการเขียนและการพูด รวมถึงการนำเสนองาน
  • ความสามารถในการบริหารเวลา และโปรเจคต่างๆ
  • ทำงานเป็นทีม เป็นได้ทั้งผู้นำ และผู้สนับสนุนที่ดี
  • ทีความคิดสร้างสรรค์
  • ความสามารถในการคิดนอกกรอบ สร้างสรรค์นวตกรรมใหม่ๆ

อัพเดทความสามารถ และประสบการณ์

ในแต่ละเดือนมีบริษัทต่างๆ เข้ามาค้นหา “วิศวกรไฟฟ้า” จำนวนไม่น้อย อัพเดทโปรไฟล์ของคุณเพื่อเปิดโอกาสรับข้อเสนอดีๆ

การศึกษาต่อ

ในการศึกษาต่อนั้นสามารถเป็นไปได้ในหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น

  • Internet Engineering
  • Nano Tech.
  • Wireless and Optical Communication
  • Telecommunication
  • และอีกมากมาย

สาขาเหล่านี้จะทำให้คุณเป็นวิศวกรไฟฟ้าที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ อาจมีโอกาสได้ทำไปงานในด้านการให้คำปรึกษา การวางระบบในองค์กรใหญ่ แต่ก่อนจะเลือกเรียนต่อ แนะนำให้ลองทำงานดูก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าสายไหนเหมาะกับตัวเอง เพราะหากเรียนต่อแล้ว ต้องนำสิ่งที่เรียนกลับมาใช้ได้ และต้องสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกันตนเอง หากเรียนไปเพราะไม่รู้จะเรียนอะไรนั้นจะทำให้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย

หากใครไม่ต้องการต่อสายวิศวกรรมแล้ว ก็สามารถเรียนต่อ MBA ได้ ซึ่งจะทำให้คุณได้เปิดโลกเกี่ยวกับด้านธุรกิจ และการบริการ เหมาะกับการที่จะใช้ความรู้ MBA ในการขยับไปสู่ต่ำแหน่งที่สูงขึ้นในองค์กร ที่เน้นด้านการบริหารคน และบริหารงาน

วิศกรไฟฟ้าบางคนอาจไม่อยากทำงานในสายวิศวกรรมแล้ว สามารถเรียนต่อด้านการเงิน การตลาด และอีกมากมาย งานที่รองรับก็มีทั้งงานธนาคาร งานให้คำปรึกษา งานบริหาร วางแผนต่างๆ เช่น Investment Analyst, Fund Manager, Marketing Analyst, Business Development และอีกมากมาย

วิศวกรไฟฟ้าส่วนใหญ่ทำงานอะไรกัน?

เกือบ 20% ของวิศวกรไฟฟ้าที่จบใหม่ทำงานในสายไอที และยังมีบางส่วนทำงานที่เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่นด้านอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาโปรแกรมต่างๆ

ประเภทงาน สัดส่วน (%)
งานด้านวิศวกรรม 41.2%
งานด้าน IT 18.8%
งานเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค 8.1%
งานในธุรกิจค้าปลีก และอาหาร 6.8%
อื่นๆ 25.1%

วิศวกรไฟฟ้ากว่า 75% จบมามีงานทำทันที มีบางส่วนเท่านั้นที่ตัดสินใจเรียนต่อ

สถานะ สัดส่วน (%)
มีงานทำแล้ว 75.7%
ศึกษาต่อ (เต็มเวลา) 9.7%
ทำงานและศึกษาต่อไปด้วย 2.7%
ว่างงาน 8.3%
อื่นๆ 3.6%

ตัวเลขสถิตินั้นอ้างอิงมาจากตลาดงานโดยรวมของประเทศในสหราชอาณาจักร เพื่อให้วิศวกรได้เห็นแนวโน้มของประเทศอื่นๆ