Articles Posted by Support Engineer

ครั้งหนึ่งในหลวง ร. 9 ทรงเลือกศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์

ความสนพระราชหฤทัยใน “การช่าง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีมาอย่างต่อเนื่องนับแต่ทรงพระเยาว์ ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงเลือกศึกษาระดับอุดมศึกษา ณ มหาวิทยาลัยโลซานน์ ในแขนงวิชาที่โปรด คือวิทยาศาสตร์ สาขา วิศวกรรมศาสตร์  ครั้งเมื่อพุทธศักราช 2489  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานัทนมหิดลได้เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ขณะนั้นมีพระชนมพรรษา 19 พรรษา ท่านได้เสด็จฯ กลับไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่ทรงเปลี่ยนแนวการศึกษาใหม่ จากวิศวกรรมศาสตร์เป็นวิชากฏหมายและวิชารัฐศาสตร์ เพื่อให้เหมาะกับที่จะต้องทรงรับพระราชภาระในฐานะประมุขของประเทศ แต่ถึงกระนั้น พระองค์ก็มิได้ทรงละทิ้งความสนพระราชหฤทัยในด้านการช่างวิศวกรรมศาสตร์ ระหว่างศึกษาอยู่ พระองค์ทรงมีห้องช่างส่วนพระองค์สำหรับทรงงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นด้าน ช่างโลหะ ช่างกล และได้เคยทรงจำลองเรือรบศรีอยุธยา รวมถึงทดลองระบบไฟฟ้าสายเดียวขณะพระชนมพรรษา ๑๐ พรรษา โดยทรงใช้ลวดทองแดงสายเดียวเสียบเต้ารับไฟฟ้าบนพระตำหนัก โยงสายลงมาที่สนาม เพื่อทรงต่อกับรถไฟฟ้าของเล่นของพระองค์ ซึ่งสามารถวิ่งในสนามได้โดยไม่ต้องใช้สายไฟฟ้า 2 สาย แต่ทรงใช้พื้นดินเป็นสายที่สองครบวงจรไฟฟ้าอีกเช่นกัน พระปรีชาสามารถด้านการช่าง ได้เจริญก้าวหน้าพร้อมกับที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาตลอดมา ทรงใช้วิชาช่างวิศวกรรมขยายออกไปสู่การแก้ไขปัญหาของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ ปัญหาสุขภาพอนามัย ความเป็นอยู่และการเติบโตของเมืองอย่างไร้ระเบียบ […]

8 สิ่งที่ควรนำไปในวันสัมภาษณ์งาน

พูดถึงการสัมภาษณ์งานทุกคนก็คงคิดถึงการเตรียมเรซูเม่ และการเตรียมตัวในการพูดคุย ตอบคำถามกับหัวหน้า และฝ่ายบุคคล แต่รู้หรือเปล่าว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่บริษัทสังเกตนั้นมีมากกว่า 2 สิ่งนี้! ทุกๆ อย่างที่ติดตัวไปกับคุณจะถูกสังเกต และนำมาพิจารณาหมด หากคุณเตรียมตัวได้ไม่ดีก็อาจจะเสียคะแนนได้ ซึ่งหลายๆ อย่างที่ควรเอาติดตัวไปด้วยในวันสัมภาษณ์จะเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่หลายคนคิดไม่ถึง  เพื่อไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้น 8 สิ่งนี้คือสิ่งที่คุณควรจะเตรียมไปในวันสัมภาษณ์งาน เพื่อให้แน่ใจว่ามีทุกอย่างครบ พร้อมสร้างความประทับใจในการสัมภาษณ์ 8 สิ่งที่ควรติดตัวไปในวัน สัมภาษณ์งาน 1. แฟ้มเอกสาร ในวันสัมภาษณ์งานเราเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพกเอกสารหลายๆ อย่างไป สิ่งแรกที่ขาดไม่ได้เลยคือแฟ้มสำหรับใส่เอกสารที่จำเป็นในวันสัมภาษณ์ จึงควรจะเตรียมไว้เป็นอันดับแรก จากการสัมภาษณ์ที่ผ่านมาก็ยังคงมีหลายๆ คนถือเอกสารไปเป็นปึกๆ โดยไม่ใช้แฟม ซึ่งส่วนตัวแล้วจะรู้สึกว่าผู้สมัครเหล่านี้ดูไม่โปรเอาซะเลย เวลาให้หาอะไรเอกสารก็จะกระจัดกระจาย 2. สำเนาเรซูเม่ เรซูเม่เป็นสิ่งที่คุณต้องส่งไปทางบริษัทตั้งแต่วันที่สมัครงาน แต่สำหรับวันสัมภาษณ์งาน อย่าหวังว่าผู้ว่าจ้างหรือฝ่ายบุคคลจะพิมพ์มันออกมาด้วย เพราะฉนั้นคุณควรเตรียมถ่ายเอกสารหลายๆสำเนาเผื่อไว้ดีที่สุด (เพราะกรรมการสัมภาษณ์จะมีกี่คนไม่สามารถรู้ได้) 3. นามบัตร แม้ข้อมูลติดต่อส่วนใหญ่จะอยู่ในเรซูเม่แล้ว แต่อย่างไรนามบัตรก็ยังคงคลาสสิคและเป็นทางการ เนื่องจากขนาดกะทัดรัด พกพาง่าย จะติดต่อเรามาก็ง่ายเช่นกัน พกเตรียมไปเถอะ ไม่แน่อาจมีคนขอในวันสัมภาษณ์ก็ได้ แต่สำหรับวิศวกรจบใหม่ก็ไม่ต้องซีเรียสเรื่องนี้เท่าไหร่ 4. บุคคลอ้างอิง ถ้าหากการสัมภาษณ์เป็นไปได้ด้วยดี […]

เริ่มรู้สึกว่า “คิดผิดที่เลือกเรียนวิศวะ”

ได้มีโอกาสพูดคุยกับน้องๆ วิศวะหลายสาขาในปีที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าหลายคนเริ่มรู้ตัวว่าตัวเองไม่ได้ชอบวิศวะเอาซะเลย ยิ่งขึ้นปี 2-3 ได้เรียนวิชาภาคมากขึ้น ยิ่งรู้เลยว่ามันไม่ใช่แนว ผมก็เคยเป็นแบบนั้นแหละ โดยเฉพาะหลังจากช่วงฝึกงานตอนปี 3  แต่ถ้าถามว่า แล้วอะไรคือสิ่งที่ต้องการหลังเรียนจบ? ก็ตอบได้เลยว่า “ไม่รู้” ความคิดในตอนนั้นคือ “สงสัยเราเรียนผิดสายแล้วหล่ะ”  เลยลองถามตัวเองกลับว่า แล้วทำไมเลือกเรียนวิศวะตั้งแต่ตอนแรก…?  “เพราะตอนนั้นไม่รู้จะเรียนอะไร ดูน่าสนใจดี ได้ทดลองอะไรแปลกๆ ลุยๆ ได้ทำอะไรที่คนปกติไม่ค่อยได้ทำ” ถ้าน้องได้คำตอบแบบนี้ การเลือกเรียนวิศวะไม่ใช่ความคิดที่ผิดหรอก น้องเดินมาถูกทางแล้ว เพียงแค่มันอาจยังไม่ถึงเวลาที่จะได้เจอ ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ หลังจากเรียนจบ ผมก็ตกงานอยู่สักพัก เพราะเกรดไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ จะทำงานบริษัทใหญ่ๆ ก็ไม่ผ่านการคัดเลือก บังเอิญตอนนั้นสนใจเรื่องออนไลน์ เว็บไซต์ เลยลองไปสมัครและได้ทำงานในตำแหน่ง Regional Online Marketing Analyst ที่บริษัท E-commerce แห่งหนึ่ง พอเข้าไปก็ได้เจอกับพี่ๆ หลายคนที่จบวิศวะมาอยู่ในสายงานการตลาดเหมือนกัน! ทั้งวิศวะเคมี, ไฟฟ้า, ยานยนต์…งงมาก!  ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป วิศวะกลับเป็นสาขาหลักที่จะได้รับการพิจราณาในการทำงานสายวิเคราะห์การตลาดออนไลน์เฉย เลยถามเค้าดูว่า “ทำไมถึงเลือกวิศวะเป็นอันดับแรก” ? มีความสามารถในด้านการคิด ตรรกะ ที่มีเหตุผล สามารถวิเคราะห์ตัวเลข […]

รัฐมนตรีพลังงานปรับแผน PDP 2015 ให้ความสำคัญ พลังงานทดแทน มากขึ้น

พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีพลังงาน ยืนยันปรับแผน พลังงานทดแทน PDP 2015 (Power Development Plan 2015) มีความชัดเจนภายในสิ้นปี 2560 มุ่งให้ความสำคัญกับ พลังงานทดแทน มากขึ้น  โดยคำนึงปัจจัยความมั่นคงพลังงาน  ราคาที่เป็นธรรม ไม่เป็นภาระต่อประชาชน และสิ่งแวดล้อมต้องยั่งยืน พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ ให้สัมภาษณ์ในงานสัมมนาอนาคตธุรกิจพลังงานไทย จัดขึ้นโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2560 ว่า กระทรวงพลังงานนั้นให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนมากขึ้น โดยตอนนี้นี้อยู่ระหว่างการปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาว พ.ศ. 2558-2579 หรือ PDP 2015 ซึ่งคาดว่าจะชัดเจนภายในสิ้นปี 2560 นี้ เบื้องต้นกำลังศึกษาความเหมาะสมในการขยายสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนทั้งหมด (พลังงานรวมกับความร้อน) จาก 30% เป็น 40% ของปริมาณพลังงานทดแทนทั้งหมดตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุได้หรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณา 3 ด้านประกอบกัน ได้แก่ ด้านความมั่นคงพลังงาน  ด้านราคาที่เป็นธรรม ไม่เป็นภาระต่อประชาชน […]

7 กฎเหล็กในการบริหารวิศวกรให้มีคุณภาพ

การบริหารทีมวิศวะกรไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างที่หลายคนคิด วิธีการบริหารแบบทั่วไปอาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร ยิ่งไปกว่านั้น อาจจะทำให้พวกเขารู้สึกเบื่อ และเซ็งกับงานมากขึ้นกว่าเดิม การบริหารบุคลากรด้านวิศวกรรมจึงจำเป็นต้องมีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่คุณก็สามารถปรับใช้ได้จริง 1 ตั้งเป้าหมายเสร็จแล้วอยู่ห่างๆ วิศวะไม่ชอบให้ใครมาจัดการ จู้จี้ จุกจิก หรือมาสั่งว่าต้องทำอย่างงั้น ต้องทำอย่างงี้กับงานที่เขารับผิดชอบ คุณควรให้อิสระกับความคิดของเขา และการวางแผนในงานของเขาเอง สิ่งที่คุณควรทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายก็คือ ให้จุดเป้าหมาย จุดประสงค์ และ Scope ของงาน ที่ชัดเจน ให้เครื่องมือที่เขาสามารถใช้ให้งานไปถึงเป้าหมายนั้น และการ Training ที่ดี (ไม่ใช้การสั่ง แต่เน้นเป็นการ Coaching) *สำคัญมาก 2 ปล่อยให้ได้ลอง อย่าตีกรอบ การมีความคิดสร้างสรรค์ หรือไอเดียใหม่ๆ เป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นการที่เขามีความคิดริเริ่ม หรือไอเดียอะไรที่ดูเข้าท่า อย่าปิดกั้นความคิดเหล่านั้น ปล่อยให้เขาได้ลองใช้ไอเดียพัฒนางานที่เขารับผิดชอบ 3 ทำความรู้จักกับเขาให้มากขึ้น การที่คุณได้คุยกับทีมงานเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปที่นอกเหนือไปจากงาน เป็นการทำให้คุณได้รู้จักนิสัยส่วนตัวของคนๆ นั้นมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การทำงานง่ายขึ้นไปอีกด้วย เพราะกำแพงระหว่างคนสองคนจะลดน้อยลง และเขาจะกล้าที่จะเสนอไอเดีย หรือออกความเห็นกับคุณได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 4 เล่นกับจุดแข็ง คนเรามักจะมีจุดอ่อน และจุดแข็งของตัวเองเป็นธรรมดา แต่สำหรับวิศวะแล้ว คุณจะต้องหาจุดแข็งของเขาให้เจอ ซึ่งก็คือต้องทำความรู้จักับเขาให้มากขึ้นตามที่ได้กล่าวไป หากคุณไม่สามารถเล่นกับจุดแข็งของเขาได้ […]

10 สาขาวิศวกรรมที่รายได้สูงที่สุดในปี 2016

วิศวกรรมเป็นสาขาที่ให้ค่าตอบแทนค่อนข้างสูงมาแต่ไหนแต่ไร และคาดการว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆในอนาคตตามความต้องการของตลาดงาน ด้วยค่าเฉลี่ยฐานเงินเดือนจากวิศวกรในระดับที่มีประสบการณ์ทั่วโลกล่าสุดในปี 2016 แล้ว วิศวกรปิโตรเลียมยังครองแชมป์อันดับ 1 ไปได้เหมือนเดิม ในขณะอีกหลายสาขามาแรงขึ้นมาก เช่น วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ IT นั่นเอง! 10 Architectural engineering: THB 1.74M-3.14M / ปี (141K-258K / เดือน) อาจจะไม่ค่อยคุ้นกับสาขานี้เท่าไรในประเทศไทย เอาแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ สถาปัตยกรรม+วิศวกรรมก่อสร้าง/โครงสร้าง จะเน้นไปที่การสร้างตึกมากกว่าการสร้างถนน สะพาน เหมือนวิศวกรโยธา ความรู้ที่จำเช่นการใช้งานโปรแกรม CAD และความสามารถในการสื่อสาร และควบคุมทีมก่อสร้าง หน้าที่หลักๆ ก็จะเป็นทุกๆ สิ่งที่เกี่ยวกับตึก เช่น การออกแบบระบบน้ำ ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และที่สำคัญ ต้องมั่นใจว่าตึกมีความคงทน และความปลอดภัยสูงสุด 9 Biomedical engineering: THB 1.76M-3.21M / ปี (146K-267K / เดือน) วิศวกรรมเทคนิคการแพทย์เป็นที่ต้องการไปพร้อมๆ การเติบโตของตลาดด้านการแพทย์ และเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการรักษาผูป่วยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น […]