การทำงาน

ทำงานหลายอย่างพร้อมกัน (Multitasking) ยังไงให้มีประสิทธิภาพ

การ ทำงานหลายอย่างพร้อมกัน  หรือ Multitasking หากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง เพราะจริงๆ แล้ว การทำงานหลายอย่างพร้อมกันอาจทำให้คุณเสียเวลามากกว่าเดิม! แต่ในความเป็นจริง ยิ่งงานในสายงานวิศวกรแบบพวกเราแล้ว อาจเลี่ยงการทำ Multitasking ไม่ได้ แต่มันก็ยังพอมีวิธีที่จะทำให้ Multitasking มีประสิทธิภาพอยู่ แต่ถ้าใครลองแล้วไม่เวิร์ค หรือไม่ถนัด Multitasking ให้หยุดเลยนะครับ อย่าฝืน เพราะปัญหาที่ตามมาอาจจะแย่กว่าที่คุณคิด ยังมี  วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำหรับวิศวกร อีกมากมายให้คุณได้ลองนำไปใช้ ทำไมการ ทำงานหลายอย่างพร้อมกัน ไม่ค่อยเวิร์ค มารู้จักสมองของเรากันแบบคร่าวๆ ก่อนดีกว่า นักจิตวิทยา Art Markman บอกว่าโดยธรรมชาติสมองของเราไม่ได้ทำงานแบบ Multitasking อยู่แล้ว แต่สมองของเราจะทำงานแบบ Time-sharing หมายถึงสมองจะทำงานโดยโฟกัสทีละเรื่อง เมื่อเรื่องหนึ่งจบ ก็ค่อยไปโฟกัสอีกเรื่องหนึ่ง แบ่งๆ เวลากันไปในแต่ละเรื่อง การที่เราทำงานแบบ Multitasking คือการสั่งให้สมองเปลี่ยนการโฟกัสอย่างรวดเร็ว ไปๆ มาๆ ซึ่งทำให้สมองทำงานมากขึ้น เสียพลังงานยิ่งขึ้น และสุดท้าย งานของคุณโดยรวมจะไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากสมองจะเริ่มเหนื่อยล้า การทำงานแบบ Multitasking ให้เวิร์ค ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถจัดการงานหลายอย่างพร้อมกันได้ […]

หยุดทำ 5 สิ่งนี้ หากอยากเป็นวิศวกรที่ Work Smart

ที่เราได้ยินกันมาตั้งแต่เด็กคือ “เรียนเยอะๆ” “อ่านหนังสือเยอะๆ” เพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จ ทำให้พอโตขึ้นมาหลายคนจึงติดนิสัยการทำงานหนัก เพราะเชื่อว่าการทำงานหนัก หรือ การ Work Hard จะส่งผลให้ชีวิต และหน้าที่การงานดีขึ้น ในขณะเดียวกันหลายๆ คน ก็คงเคยได้ยินอีกแนวคิด นั่นคือ Work Smart แปลตรงๆ ก็คือการทำงานอย่างฉลาดนั่นเอง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่า ทำอย่างไรให้งานมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้เวลา และกำลังน้อยที่สุด  หากใครยังคิดอยู่กว่าการ Work Hard คือทางเดียวที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ลองดูตัวอย่างง่ายๆ นั่นก็คือ Facebook ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพเล็กๆ สร้างขึ้นโดยนักศึกษาไม่กี่คน ทำไมถึงเอาชนะบริษัทใหญ่ๆ ได้ ทั้งๆ ที่บริษัทใหญ่ๆ มีเงินเยอะกว่า มีทีมงานเยอะกว่า..? กุญแจสำคัญคือการ Work Smart นั่นเอง คำว่า “การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ”  และ “งานยุ่ง” ต่างกันโดยสินเชิง งานยุ่งไม่ได้หมายความว่างานนั้นมีประสิทธิภาพ การทำงานที่มีประสิทธิภาพคือการใช้เวลาน้อย แต่ได้ผลลัพธ์เยอะ ดังนั่น วิศวกรควรหยุดทำ 5 สิ่งนี้ถ้าหากอยากเป็นคนที่ Work Smart […]

4 ขั้นตอน ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สำหรับวิศวกร

ทักษะการแก้ปัญหา เป็นหนึ่งใน Soft Skills ที่สำคัญที่สุด เป็นทักษะที่วิศวกรทุกคน ทุกตำแหน่ง และทุกระดับงานจำเป็นต้องมี เพราะไม่ว่าจะงานอะไรก็จะมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งปัญหาเป็นอะไรที่ไม่มีใครอยากให้เกิด และไม่มีใครรู้ว่ามันจะเกิดเมื่อไหร่ ดังนั้นการเตรียมพร้อมในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบนั้นสำคัญมาก แต่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ดี  หลายๆ คนมักคิดว่าการแก้ปัญหาไม่ใช่เรื่องยาก เวลาได้โจทย์งานยากๆ มา หรือตอนเรียนเจอข้อสอบยากๆ ยังสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายๆ ชีวิตงานจริงๆ มันไม่ใช่แค่นั้น เพราะปัญหาจริงๆ ไม่มีโจทย์ให้ ไม่มีอะไรให้เลย จนบางทีเราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตอนนี้มีปัญหาเกิดอยู่หรือเปล่า ทำให้เกิดการนิ่งเฉยและส่งผลให้เกิดหายนะได้ หรือบางทีเราอาจเจอหลายๆ ปัญหาพร้อมกัน จนไม่รู้ว่าอะไรต้องแก้ก่อน แก้หลัง หลายๆ ครั้งทำให้การแก้ปัญหานั้น ไม่ตรงจุด Problem Solving Process หรือขั้นตอนในการแก้ปัญหาจริงๆ แล้วมีหลายขั้นตอน แต่บทความนี้จะสรุปมา 4 ขั้นตอนหลักๆ เพื่อให้ง่ายต่อการมององค์ประกอบรวมๆ 4 ขั้นตอนในการแก้ปัญหาอยากเป็นระบบ 1. ระบุปัญหา (Identify The Problem) ก่อนอื่นเราต้องหาให้ได้ก่อนว่าอะไรคือจุดกำเนิดของปัญหานั้นๆ  โดยใช้ข้อมูลที่ผ่านมาทำการวิเคราะห์ หรือใช้ทักษะการสังเกตสิ่งรอบๆ ตัวหรือสิ่งที่ไม่ปกติ บางทีจุดกำเนิดของปัญหาอาจจะมาทั้งจากคนหรือจากเครื่องจักร เช่น […]

ได้เลื่อนตำแหน่ง แต่เงินเดือนเท่าเดิม ควรทำไงดี?

หากวันหนึ่งคุณได้รับข่าวดีว่า “ได้เลื่อนตำแหน่งนะ” ก็คงจะน่าตื่นเต้นที่จะได้รับบทบาทและความรับผิดชอบที่ใหญ่ขึ้นในองค์กร แต่หากตำแหน่งนั้นมาพร้อมเงื่อนไขที่ว่า ไม่ได้รับเงินเดือนเพิ่มล่ะ คุณจะทำอย่างไร? จากผลสำรวจของบริษัทให้คำปรึกษา Korn Ferry พบว่าพนักงานประมาณ 63% ยินดีที่จะรับตำแหน่งที่สูงขึ้นด้วยเงินเดือนเท่าเดิม มากกว่าการอยู่ตำแหน่งเดิมแต่เงินเดินเพิ่มขึ้น! ไม่ว่าคุณจะพอใจหรือไม่พอใจก็ตาม นี่คือ 3 วิธีในการรับมือกับเหตุการณ์นี้ให้เหมาะสม รอโอกาสที่รายได้น่าจะเพิ่มในอนาคต บางบริษัทอาจไม่ให้ผลตอบแทนเป็นจำนวนเงินเดือนที่มากขึ้นตามตำแหน่ง แต่อาจเป็นโบนัสประจำปีที่เพิ่มขึ้น หรืออนาคตคุณอาจได้รับหุ้นของบริษัทก็เป็นได้ ลองคิดถึงความเป็นไปได้ดูว่าสิ่งนี้จะเป็นไปได้หรือไม่ หากไม่ (และถ้าคุณกล้าพอ) ควรแสดงให้เห็นจุดยืนในเป้าหมายของตำแหน่งงานของคุณ เช่น ใน 1 ปีแรก คุณมีแผนว่าต้องทำโครงการทั้งหมด 3 โครงการ และถ้าหากสำเร็จตามเป้า คุณเห็นว่าตัวเองควรจะได้ค่าตอบแทนเพิ่ม แต่ถ้าคุณไม่กล้าพอ ก็จงตั้งใจทำหน้าที่ใหม่ให้เต็มที่ แล้วเมื่อมีเวลาว่างค่อยลองคุยกับหัวหน้า ถามเนียนๆ เกี่ยวกับโบนัสว่ามีโอกาศที่จะเพิ่มขึ้นบ้างไหม แล้วถ้าคุณทำงานได้ตรงเป้า คุณจะได้เพิ่มบ้างไหม ถามแบบที่เล่นทีจริง ใช้ตำแหน่งนี้ประกอบเรซูเม่ สมัยนี้การที่บริษัทให้ตำแหน่งแก่พนักงานโดยไม่เพิ่มเงินเดือน กลายเป็นไอเดียที่นิยมในการเปิดตำแหน่งงานใหม่โดยประหยัดงบบริษัท ซึ่งถ้าบริษัทต้องการจะประหยัดงบ แน่นอนว่าโบนัสอะไรก็คงไม่น่าจะได้เพิ่ม คำแนะนำในกรณีนี้คือ ให้เรารับตำแหน่งเพื่อเก็บเกี่ยวทักษะและประสบการณ์ให้มากที่สุด แล้วนำมาใช้เป็นคุณสมบัติในการหางานใหม่ เมื่อเรามีคุณสมบัติที่สูงพอ เคยผ่านงานในตำแหน่งที่รับผิดชอบมากพอ งานในฝันและค่าตอบแทนที่เหมาะสมจะเข้ามาหาเราเอง ยังไงก็จะขอข้อต่อรองเงินเดือน บางคนใจร้อน และคิดว่ายังไงตัวเองก็ควรได้รับเงินเดือนเพิ่ม หากคุณเป็นคนประเภทนี้ หลังจากได้รับตำแหน่งแล้ว หาจังหวะดีๆ […]

เคล็ดลับในการโน้มน้าวหัวหน้า ให้ได้เลื่อนตำแหน่งงานที่สูงขึ้น

การนั่งเฉยๆ ไปวันๆ หวังว่าสักวันหัวหน้าจะพิจารณาเลื่อนตำแหน่งคงไม่ใช่เรื่องง่ายในชีวิตจริง มันต้องทำอะไรสักอย่าง ที่จะให้ความสามารถของเราเข้าตาหัวหน้า แต่บางทีก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสแสดงฝีมือ.. Robin Dreeke Robin Dreeke อดีตเจ้าหน้าที่ FBI และผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมมนุษย์ ได้ให้สำภาษณ์กับ Business Insider เกี่ยวกับวิธีการโน้มน้าวหัวหน้าให้โปรโมทคุณไปในตำแหน่งงานที่สูงกว่า Dreeke บอกว่าหลายๆ คนชอบใช้หลักการโน้มน้าวหัวหน้าโดยเสนอความสามารถของตัวเองว่าคุณเนี่ยแหละคือคนที่เหมาะกับตำแหน่งนั้นที่สุด ซึ่งหากทำเยอะเกินไปมันจะกลายเป็นการขายของซึ่งมันจะทำให้คุณดูไม่ดีเท่าไหร่.. ใครบ้างที่จะชอบนั่งฟังคนขายความสามารถตัวเอง.. แต่จริงๆ แล้วหลักการโน้มน้าว ต้องไม่เป็นไปในลักษณะการขาย แต่เป็นการ “สร้างแรงบันดาลใจ” ในหัวหน้า อาจฟังดูแปลกๆ แต่ได้ผลจริงครับ การจะสร้างแรงบันดาลใจให้ใครสักคนได้คุณต้องรู้ก่อนว่าเป้าหมายของเค้าคืออะไร สิ่งที่เค้าต้องการเป็นแบบไหน ตำแหน่งงานนั้นต้องการค้นที่มีบุคลิก และความสามารถแบบไหน จากนั้นถามตัวเองว่าจะสร้างแรงบันดาลใจอย่างไรให้เค้าต้องการเรา ให้เค้าอยากได้เราไปช่วยงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น การสร้างแรงบันดาลใจนั้นไม่ใช้การเข้าไปคุยแบบขายตรง แต่เป็นการ “แสดงให้เห็น” ให้เค้าเห็นว่าคุณคือคนนั้นจริงๆ หากคุณยังไม่มีโอกาสได้แสดงตรงๆ อาจลองใช้เวลาสั้นๆ ไม่กี่วินาทีที่คุณได้คุยกับหัวหน้าตอนไปซื้อกาแฟ หรืออยู่บนลิฟต์ ก็ได้ พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำให้เค้าเห็นว่า You are the right man! (เน้นอีกรอบว่าห้ามขายความสามารถตัวเอง เพราะมันน่าเบื่อ) เช่น อาจพูดเรื่องงาน โปรเจค หรือปัญหาที่หัวหน้า หรือบริษัทกำลังเผชิญอยู่ และแสดงความคิดเห็น โดยโฟกัสเนื้อหาความคิดเห็นไปในทางเดียวกันกับเป้าหมายของหัวหน้า ในเรื่องที่หัวหน้าให้ความสำคัญ […]

Google ใช้วิธีนี้ให้อิสระกับวิศวกร เป็นจุดเริ่มต้นของไอเดียเปลี่ยนโลก

Eric Schmidt ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Google ที่ดำรงตำแหน่งในช่วง 2001-2011 ได้ให้สัมภาสณ์กับ Bloomberg เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรของ Google และเปิดเผยความลับของการบริหารทีม “วิศวกร” ที่ Google Eric Schmidt: “Google เน้นในการให้อิสระกับพนักงานมากๆ แทบจะไม่มีกฎเกณฑ์ อิสระจนขนาดที่ว่าเคยมีกลุ่มวิศวกรหอบผ้ามานอนที่บริษัทเต็มพื้นไปหมด! ก็เลยกลายเป็นอีกกฎของ Google ว่าทุกคนสามารถทำอะไรก็ได้ที่ต้องการ แต่ห้ามนอนที่บริษัท!! พนักงานอยากจะเอาสัตว์เลี้ยงมาด้วยก็ได้ แต่ก็ต้องให้มันอยู่เป็นที่เป็นทาง ซึ่งกฎของสัตว์เลี้ยงมีมากกว่ากฎของพนักงานซะอีก (อมยิ้ม)” Bloomberg:  “แล้วเรื่องอาหารฟรีที่เป็นที่พูดถึงอยู่บ่อยๆ ล่ะ? จุดประสงค์ของอาหารฟรีคืออะไรกันแน่?” Eric Schmidt: “เหตุผลสำคัญคือ เรามีไอเดียที่ว่า ครอบครัวกินข้าวด้วยกัน และเราอยากให้บริษัทเป็นเหมือนครอบครัว ซึ่งเราคิดว่าถ้าพนักงานมีอาหารดีๆ ทุกมือ เค้าก็จะได้ใช้เวลากินด้วยกันมากขึ้น ซึ่งการทำงานกันเป็นทีมก็จะดีขึ้นไปด้วย ซึ่ง Google ก็มีอีกหนึ่งคอนเซ็ปเรียกว่า “20% time” ซึ่งจะใช้กับพนักงานหลายๆ ตำแหน่ง โดยเฉพาะวิศวกร [เพิ่มเติม] Larry Page เจ้าของคอนเซ็ปได้กล่าวไว้ว่า เราอยากให้พนักงานใช้เวลา 20% ของเวลา รวมถึงเวลาในการทำโปรเจคต่างๆ คิดเกี่ยวกับอะไรก็ได้ที่เขาคิดว่าจะสร้างประโยชน์ให้ Google ซึ่งคอนเซ็ปนี้คือการให้พื้นที่ในส่วนของความคิดสร้างสรรค์สำหรับนวัตกรรมใหม่ๆ ..หลายๆโปรเจคที่ประสบความสำเร็จของ Google […]

4 อย่างที่ต้องทำ ในอาทิตย์แรกของการทำงาน

อันดับแรกก็ขอแสดงความยินดีสำหรับงานใหม่ด้วย!! ทีนี้ก็มาถึงช่วงที่ “ทำยังไงให้หัวหน้างานรู้สึกว่าเค้าได้ตัดสินใจถูกต้องที่เหลือคุณมาร่วมทีม” เพราะช่วงนี้คุณจะโดนจับตามองเป็นพิเศษอย่างแน่นอน ซึ่งจริงๆ แล้วไม่เกิน 2 อาทิตย์ ระดับหัวหน้างานก็จะเริ่มเดาออกแล้วว่าคุณคือ The Right Choice หรือไม่ และจะนำความสำเร็จมาให้ทีมหรือเปล่า ซึ่งปัจจัยที่เค้าดูไม่ได้มีแค่ความสามารถในการทำงานอย่างเดียว ยังมีเรื่องการพูดคุย การเข้าสังคม บุคลิก แนวคิด หรือแม้กระทั่งการแต่งตัว! 2 อาทิตย์เป็นเวลาไม่นานเลยที่จะชี้ชะตาของคุณในบริษัทใหม่ เพราะฉนั้นก่อนจะไปทำงานวันแรกอย่าลืมมาทบทวนเคล็ดลับนี้อีกทีล่ะ จะได้ไม่พลาด ใจเย็นไว้ก่อน ค่อยเปลี่ยนทีหลัง วันแรกของการทำงานที่ใหม่ไฟก็จะพุ่งกระฉูดเป็นธรรมดา อยากแสดงความสามารถ อยากแสดงว่าคุณสามารถทำให้บริษัทนั้นดีขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็คือเหตุผลที่เค้าต้อนรับคุณเข้ามาทำงานแหละ.. แต่!! อย่าเพิ่งคึกเกินไปในช่วงอาทิตย์แรก เพราะช่วงอาทิตย์แรกๆ นั้น คุณควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับบริษัท และ “ฟัง” ให้เยอะที่สุดเพื่อให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น หรือระบบการทำงานของบริษัทอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมจึงค่อยเริ่มพัฒนา และเปลี่ยนเปลงบริษัทให้ดีขึ้น อย่ามาคนแรก อย่ากลับคนสุดท้าย คุณอาจคิดว่าการที่จะพิสูจน์ความสามารถ และความขยันของตัวเองคือการมาทำงานคนแรก และกลับคนสุดท้าย หรือเรียกว่ามาเปิดประตู และปิดประตูออฟฟิสเลยทีเดียว แต่การทำงานหนักเกินไปนั้นจะทำให้ผลลัพธ์ออกมาได้ไม่สมบูรณ์ และยังทำให้คุณเหนื่อยเกินไป ช่วงเวลาที่ควรมาและกลับที่ดีที่สุดคือช่วงเวลากลางๆ ไม่ควรกลับบ้านคนแรก และไม่ควรกลับคนสุดท้าย ลองดูว่าคนส่วนใหญ่กลับกันเวลาไหน […]

6 สัญญาณ ที่แสดงถึงทีมวิศวกรที่ไร้คุณภาพ

การทำงานเป็นทีม แน่นอนว่าผลลัพธ์นั้นก็ย่อมมีผลกระทบต่อทุกคนในทีม โดยเฉพาะผู้นำ หรือหัวหน้างาน เพราะจะเป็นตัวชี้ว่าคุณมีคุณสมบัติในการนำลูกทีมได้ดีแค่ไหน และลูกทีมมีความสามารถที่จะร่วมงานกับทีมได้มากแค่ไหน ซึ่งกว่างานจะสำเร็จก็เป็นธรรมดาที่จะต้องเจอปัญหามากมาย หากทีมงานของคุณมีคุณภาพก็จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ แต่หากบางทีมที่ยังหาทางออกไม่ได้ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นทีมงานไร้คุณภาพเสมอไป  6 ข้อนี้จะเป็นจุด “Check Point” ข้อบกพร่องที่หลายๆ คนอาจเคยเจอ ซึ่งจะบอกว่าทีมงานของคุณนั้นมีคุณภาพพอหรือไม่.. 6 ต่างคนต่างเดิน ลูกทีมแต่ละคนอาจจะยังมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งอาจจะยังไม่เข้าใจถึงจุดประสงค์หลักของงาน หรือมีความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากที่หัวหน้าทีมคิด จึงทำให้ไม่มีแรงผลักดันในการทำงานนั้นๆ การที่สมาชิคในทีมไม่เปิดใจรับฟังความเห็นของหัวหน้า หรือหัวหน้าไม่รับฟังความเห็นของลูกทีม เป็นปัญหาหลักของปัญหานี้ ควรเปิดโอกาสให้กันและกัน และหากิจกรรมทำร่วมกันเพื่อจะได้สนิทแล้วเข้าใจกันมากขึ้น 5 ตัดสินใจไม่ได้ หากสมาชิคในทีมยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในขั้นตอนการตัดสินใจมากเกินไป จะทำให้การตัดสินใจไม่เฉียบขาด และไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งๆ นั้นอาจจะถูกผลักดันมาจากทางหัวหน้าทีมอยู่ซ้ำๆ เช่น “ถ้าพลาดคุณโดนไล่ออกนะ” จึงทำให้ลูกทีมยิ่งเครียด และกลัวที่จะตัดสินใจ อีกสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ตัดสินใจไม่ได้คือการที่ลูกทีมมีข้อมูลไม่เพียงพอ การเสนอข้อมูลใหม่ๆ หาข้อมูลที่เป็น Secondary Data หรือ Case Study ใหม่ๆ จะทำให้ลูกทีมได้ลองคิดนอกกรอบแทนที่จะย้ำคิดย้ำทำอยู่ในจุดเดิมๆ 4 สื่อสารไม่ได้เรื่อง การสื่อสารนั้นแทบจะถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงานเป็นทีมเลยก็ว่าได้ จุดที่เป็นปัญหาของทีมส่วนใหญ่คือ . สื่อสารมากเกินไป: ในช่วงเวลาประชุม สิ่งที่สำคัญพอๆกับการพูดถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น คือขั้นตอนการการฟัง และคิด หากต่างคนต่างแย่งกันพูด จะทำให้จบการประชุมไม่ลง […]

7 กฎเหล็กในการบริหารวิศวกรให้มีคุณภาพ

การบริหารทีมวิศวะกรไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างที่หลายคนคิด วิธีการบริหารแบบทั่วไปอาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร ยิ่งไปกว่านั้น อาจจะทำให้พวกเขารู้สึกเบื่อ และเซ็งกับงานมากขึ้นกว่าเดิม การบริหารบุคลากรด้านวิศวกรรมจึงจำเป็นต้องมีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่คุณก็สามารถปรับใช้ได้จริง 1 ตั้งเป้าหมายเสร็จแล้วอยู่ห่างๆ วิศวะไม่ชอบให้ใครมาจัดการ จู้จี้ จุกจิก หรือมาสั่งว่าต้องทำอย่างงั้น ต้องทำอย่างงี้กับงานที่เขารับผิดชอบ คุณควรให้อิสระกับความคิดของเขา และการวางแผนในงานของเขาเอง สิ่งที่คุณควรทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายก็คือ ให้จุดเป้าหมาย จุดประสงค์ และ Scope ของงาน ที่ชัดเจน ให้เครื่องมือที่เขาสามารถใช้ให้งานไปถึงเป้าหมายนั้น และการ Training ที่ดี (ไม่ใช้การสั่ง แต่เน้นเป็นการ Coaching) *สำคัญมาก 2 ปล่อยให้ได้ลอง อย่าตีกรอบ การมีความคิดสร้างสรรค์ หรือไอเดียใหม่ๆ เป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นการที่เขามีความคิดริเริ่ม หรือไอเดียอะไรที่ดูเข้าท่า อย่าปิดกั้นความคิดเหล่านั้น ปล่อยให้เขาได้ลองใช้ไอเดียพัฒนางานที่เขารับผิดชอบ 3 ทำความรู้จักกับเขาให้มากขึ้น การที่คุณได้คุยกับทีมงานเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปที่นอกเหนือไปจากงาน เป็นการทำให้คุณได้รู้จักนิสัยส่วนตัวของคนๆ นั้นมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การทำงานง่ายขึ้นไปอีกด้วย เพราะกำแพงระหว่างคนสองคนจะลดน้อยลง และเขาจะกล้าที่จะเสนอไอเดีย หรือออกความเห็นกับคุณได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 4 เล่นกับจุดแข็ง คนเรามักจะมีจุดอ่อน และจุดแข็งของตัวเองเป็นธรรมดา แต่สำหรับวิศวะแล้ว คุณจะต้องหาจุดแข็งของเขาให้เจอ ซึ่งก็คือต้องทำความรู้จักับเขาให้มากขึ้นตามที่ได้กล่าวไป หากคุณไม่สามารถเล่นกับจุดแข็งของเขาได้ […]